มาตรการเตรียมพร้อม “โควิด-19” เข้าสู่โรคประจำถิ่น



จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคอุบัติใหม่ ทำให้เกิดการระดมสรรพกำลัง ความรู้ความสามารถ และทรัพยากรในการจัดการกับวิกฤติดังกล่าว ด้วยความร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วน ทำให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์วิกฤติมาได้ในทุกระลอกของการระบาด จนสุดท้ายสามารถเปลี่ยนจากโรคระบาดใหม่ สู่ “โรคประจำถิ่น”  โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19) ดังนี้

1. มาตรการด้านสาธารณสุข เดินหน้า Universal Vaccination จะเร่งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากกว่า 60% ปรับระบบเฝ้าระวังเน้นการระบาดเป็นกลุ่มก้อนและผู้ป่วยปอดอักเสบ ผ่อนคลายมาตรการสำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศ ปรับแนวทางการแยกกักผู้ป่วยและกักกันผู้สัมผัส
2. มาตรการด้านการแพทย์ ปรับแนวทางการดูแลรักษาโควิด 19 แบบผู้ป่วยนอก เน้นดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงอาการรุนแรง และมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยภาวะ Long COVID ปรับมาตรการการดูแลรักษาผู้ป่วยทั่วไป ไม่ต้องตรวจหาเชื้อโควิค 19 ยกเว้นมีอาการหวัด สงสัยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยใน หรือต้องผ่าตัด จะตรวจ ATK หรือ RT-PCR ตามความเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วยรายอื่น และบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงเตรียมระบบการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมกับอาการ และระดับความรุนแรงของโรค เตียง บุคลากร สำรองยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลไว้อย่างเพียงพอ หากเกิดการระบาดซ้ำ
3. มาตรการด้านกฎหมาย สังคม และองค์กร โดยบริหารจัดการด้านกฎหมายเพื่อลดความสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพระบบสาธารณสุข ซึ่งคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจะพิจารณาเสนอให้ปรับโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งจะมีแนวทางการควบคุมป้องกันโรคคล้ายกับโรคติดต่อทั่วไป รวมถึงมีการผ่อนคลายมาตรการทางสังคม ลดการจำกัดการเดินทาง และการรวมตัวของคนหมู่มาก
4) มาตรการด้านการสื่อสาร สร้างความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมให้ประชาชน ดำเนินชีวิตร่วมกับโควิดได้ (Living with COVID) และ สื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างความร่วมมือของประชาชนในแต่ละช่วงเวลา

ทั้งนี้ การป้องกันที่ถูกต้องเหมาะสมจะทำให้ทั้งตัวเราและคนอื่นปลอดภัย “อยู่ร่วมกันได้ ลดความกลัว ไม่รังเกียจ และไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรมากจนเกินไป” สวัสดีค่ะ

ข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar