นายกรัฐมนตรียืนยันเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามขั้นตอน ยึดกรอบการบริหารหนี้สาธารณะ และวินัยการเงินการคลัง เน้นจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลประชาชนในทุกมิติ

นายกรัฐมนตรียืนยันเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามขั้นตอน ยึดกรอบการบริหารหนี้สาธารณะ และวินัยการเงินการคลัง เน้นจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลประชาชนในทุกมิติ 

วันนี้ (9 มิ.ย. 64) เวลา 19.30 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 3 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณา พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยนายกรัฐมนตรียืนยันว่า ให้ความสำคัญกับการประชุมสภาฯ  และยินดีรับฟังความคิดเห็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละท่าน  พร้อมให้ความเชื่อมั่นถึงการจัดเตรียมงบประมาณภาครัฐ เพื่อแก้ไขบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การเบิกจ่ายเป็นไปตามขั้นตอน ยืนยันรัฐบาลทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ มีทั้งการตรวจสอบ ประชุมหารือจากหลายคณะด้วยกัน
 
นายกรัฐมนตรียังเผยถึงการทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมา มีการวางแผนเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ในอนาคต ทั้งการลงทุน เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ EEC โครงสร้างพื้นฐาน ระบบดิจิทัล สำหรับการดําเนินการภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยทําให้เศรษฐกิจไทยปี 2563 หดตัวลดลงที่ -6.1%  ซึ่งน้อยกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ไว้ที่ -8.1% ซึ่งการ ดําเนินโครงการภายใต้แผนงานที่ 2 เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชนทุกกลุ่มอาชีพ จะทําให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังปี 2564 ด้วย  ในส่วนงบประมาณด้านสาธารณสุข ได้อนุมัติค่าเสี่ยงภัย อสม. ค่าเครื่องมือแพทย์กว่า 30,000 รายการ และค่าปรับปรุงก่อสร้างโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์กว่า 786 แห่ง เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยืนยัน ไม่มีการตัดงบประมาณด้านสาธารณสุข
 
นายกรัฐมนตรีให้ความมั่นใจว่า รัฐบาลพยายาอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกมิติ กระตุ้นการจ้างงาน ด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงาน สมาคมแรงงาน กองทุนประกันสังคม และกองทุนต่าง ๆ ขณะเดียวกัน เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs กว่า 5 ล้านราย ลดปัญหาหนี้สิน โดยใช้กลไกผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ ปรับกฎ/กติกา ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน Soft Loan แก่ผู้ประกอบการที่ไม่มีหลักทรัพย์ให้สามารถกู้เงินได้ รวมถึงกระบวนการประนอมหนี้ คลินิกแก้หนี้  นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเม็ดเงินผ่านการบริโภค ซึ่งมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 203,040 ล้านบาท เพื่อช่วยผู้ประกอบการร้านค้าจำนวนกว่า 1.14 ล้านร้านค้า ผ่านโครงการคนละครึ่ง ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ร้านค้าหาบเร่ แผงลอย โดยมีบรรทัดฐานของรายได้เป็นตัวกำหนด ทั้งนี้ ยืนยันรัฐบาลระมัดระวังการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะ และวินัยการเงินการคลัง

ข้อมูล : 

 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar