พื้นที่สีแดงเข้มเหลือ 4 จังหวัด ปรับมาตรการผ่อนคลายในแต่ละพื้นที่ เห็นชอบเพิ่มกรอบการจัดหาวัคซีนเป็น 150 ล้านโดส ภายในปี 2565

นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผยว่า วันนี้ที่ประชุมพิจารณามาตรการผ่อนคลายพื้นที่ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร โดยปรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเหลือ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ 

ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุดมี 11 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตรัง นครปฐม ปัตตานี เพชรบุรี สงขลา สมุทาสาคร สระบุรี ยะลา และนราธิวาส

พื้นที่ควบคุม 9 จังหวัดคือ จันทบุรี นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ราชบุรี สระแก้ว, สมุทรสงคราม 

ส่วนที่เหลืออีก 53 จังหวัด เป็นพื้นที่สีเหลือง เฝ้าระวังสูง

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุม ศบค. ยังพิจารณามาตรการตามระดับพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องความเป็นอยู่ของประชาชน โดยพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สามารถจัดกิจกรรมได้ไม่เกิน 50 คน, ร้านอาหารเปิดได้ไม่เกิน 23.00 น. งดดื่มสุราในร้าน ,ส่วนร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศ ขอให้เว้นระยะห่าง นั่งได้ไม่เกินร้อยละ 50, ห้างสรรพสินค้าเปิดได้ไม่เกิน 21.00 น., สถานศึกษายังต้องเรียนออนไลน์, เล่นกีฬากลางแจ้งได้, การแข่งขันต้องไม่มีผู้ชม เปิดได้ถึง 21.00 น.

พื้นที่ควบคุมสูงสุดสีแดง จัดกิจกรรมได้ไม่เกิน 100 คน ร้านอาหารปักษ์ใต้ถึง 23.00 น. งดดื่มสุราในร้าน, ห้างสรรพสินค้าเปิดได้ตามปกติ งดกิจกรรมส่งเสริมการขาย, ใช้อาคารเรียนได้แต่ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด, เล่นกีฬาได้ไม่เกิน 21.00 น. แข่งขันได้จำกัดผู้ชม 

ส่วนพื้นที่ควบคุมจัดกิจกรรมได้ไม่เกิน 150 คน ร้านอาหารเปิดได้ตามปกติ, ใช้อาคารเรียนได้ แต่ต้องเป็นไปตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด, สถานที่แข่งขันกีฬาเปิดได้ทุกประเภท โดยจำกัดผู้ชม 

ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังสูง จัดกิจกรรมร่วมกลุ่มได้ไม่เกิน 200 คน, ร้านอาหาร, ห้างสรรพสินค้า, สถานศึกษาและสถานที่ออกกำลังกาย เปิดได้ตามปกติ ครั้งนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายนเป็นต้นไป

ส่วนแผนการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รายงานแผนการจัดสรรวัคซีนให้กับแต่ละจังหวัดในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยมีเป้าหมายการให้บริการฉีดวัคซีน 10 ล้านโดสในเดือนกรกฎาคม จึงพิจารณาจัดสรรวัคซีนให้กับผู้ที่จองฉีดวัคซีนล่วงหน้าในระบบพร้อมสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังก่อน, พิจารณาให้กรุงเทพฯ ได้รับการจัดสรรวัคซีนอย่างน้อย 5 ล้านโดส ภายในเดือนกรกฎาคม, และให้จังหวัดภูเก็ต ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 อย่างน้อยร้อยละ 70 ภายในเดือนกรกฎาคม ซึ่งจังหวัดที่มีพื้นที่สีแดงเข้ม 4 จังหวัด และจังหวัดภูเก็ต จะไปรับวัคซีนก่อนร้อยละ 30 ส่วนจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายแดนและพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่มีความเร่งด่วนในการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ภายหลังการแพร่ระบาด 23 จังหวัด ได้รับร้อยละ 25 ได้แก่ เชียงราย, เชียงใหม่, ตาก, หนองคาย, สระแก้ว, ระนอง, นราธิวาส, ยะลา, ปัตตานี, สงขลา, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, นครปฐม, พระนครศรีอยุธยา, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, บุรีรัมย์, สุราษฎร์ธานี, พังงา, และกระบี่ ส่วนที่เหลืออีก 49 จังหวัด จะได้รับการจัดสรรร้อยละ 35 หรือจังหวัดละ 70 โดส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และการส่งมอบวัคซีนของผู้ผลิต

ขณะที่การจัดหาวัคซีน จะเพิ่มกรอบการจัดหาเป็น 150 ล้านโดสในปี 2565 และจะเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของโรค ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีการจัดหาหรือดำเนินการจองวัคซีนแล้ว 105.5 ล้านโดส เป็น astrazeneca 61 ล้านโดส, ซิโนแวค 19.5 ล้านโดส, ไฟเซอร์ 20 ล้านโดส, johnson & johnson 5 ล้านโดส ดังนั้นประเทศไทยจะต้องเตรียมงบประมาณในการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมให้ครบ 150 ล้านโดส จะเป็นวัคซีนซิโนแวค 28 ล้านโดส และวัคซีนอื่นๆ อีก 22 ล้านโดส

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังพิจารณาการดำเนินการจัดการสถานที่กักกัน ซึ่งทางราชการกำหนด จะเริ่มในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ซึ่งพบว่ามีคนใช้บริการจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปกลับต่างประเทศ ซึ่งผู้ที่มีสัญชาติไทย ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศจะต้องเข้ากับตัวที่ alternative quarantine ส่วนผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย ให้เข้ากับตัวที่สถานกักตัวทางเลือก, ส่วน organisation quarantine จะรองรับแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากทำงานในต่างประเทศ โดยกระทรวงแรงงานจะกำหนดพื้นที่ ,และคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากอยู่ในต่างประเทศ และประสงค์จะเดินทางกลับมา เป็นกลุ่มเปราะบาง ส่วนเดินทางข้ามแดนผ่านด่านถาวรทางบกจากประเทศเพื่อนบ้าน ยังคงมี state quarantine ที่ภาครัฐจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ ซึ่งที่ประชุมอนุมัติสนับสนุนงบประมาณของภาครัฐเฉพาะในส่วนของค่าตรวจหาเชื้อโควิคสำหรับผู้ที่มีสัญชาติไทยที่เข้ารับการกักกันในสถานที่กักกันประเภทต่างๆ นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมเป็นต้นไป

สำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ ถ่ายทำได้ไม่เกิน 50 คนโดยต้องบริหารจัดการความหนาแน่นของพื้นที่ขณะถ่ายทำอย่างน้อย 4 ตารางเมตรต่อคน ให้ยกเว้นผู้ที่ไม่ต้องสวมหน้ากากบางช่วงเวลา รายการละครเฉพาะนักแสดงที่เข้าฉาก การประกวดร้องเพลงเฉพาะผู้ที่เข้าร่วมประกวดที่มีการจัดพื้นที่ไว้เฉพาะ รายการเกมโชว์เฉพาะผู้ที่ร่วมรายการข่าวละ 1 คน ผู้ประกาศข่าว โดยจะต้องจัดให้มีฉากกั้นและเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร หรือตามความเหมาะสม

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุมพิจารณาวันกักตัวของลูกเรือ บริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน เนื่องจากต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการกักตัว โดยลูกเรือที่ได้รับวัคซีนตามกำหนดแล้วอย่างน้อย 14 วัน แบ่งเป็น 2 กรณีคือ กรณีไม่ได้ลงจากเครื่องบิน หรือลงไปไม่เกิน 12 ชั่วโมง และสวมชุด PPE ให้สังเกตอาการในที่พัก ส่วนผู้ที่ไม่ได้สวมชุด PPE ต้องเข้ารับการกักกัน home quarantine ได้

สำหรับการเปิดพื้นที่นำร่องรับการท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะสมุย เกาะพงัน เกาะเต่า ผอ.ศบค. เน้นย้ำ ทุกภาคส่วนต้องมีความพร้อมและค่อยๆ เรียนรู้กันไป ต้องจัดสมดุลในการป้องกันคนไทยในการติดเชื้อ กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ข้อมูล https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210618142704649


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar