“ขยะอาหาร” (FOOD WASTE) ปัญหาที่ท้าทายมวลมนุษยชาติ

🍚🍛“ขยะอาหาร” (FOOD WASTE) ปัญหาที่ท้าทายมวลมนุษยชาติ

ในแต่ละปี อาหารกว่า 1,300 ล้านตัน หรือ 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตได้ทั่วโลก ต้องกลายเป็นขยะอาหารที่ถูกทิ้งไปอย่างสูญเปล่า และสร้างก๊าซเรือนกระจกถึง 8% ในขณะที่คนกว่า 830 ล้านคนทั่วโลกกลับประสบภาวะอดอยาก สำหรับประเทศไทย กว่า 60% ของขยะมาจากขยะอาหาร คนไทย 1 คนสร้างขยะอาหารสูงถึง 254 กิโลกรมต่อปีเลยทีเดียว

เมื่อเดือน ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา ไทยได้จัดเวิร์คชอปเกี่ยวกับการลดขยะอาหารในห่วงโซ่อุปทานเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ MSMEs โดยได้ยกกรณีศึกษาจากสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการจัดการที่มีประสิทธิภาพ มาช่วยแก้ปัญหาขยะอาหาร ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน พร้อมส่งเสริมความยั่งยืนไปพร้อมกัน สอดคล้องกับแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นแนวคิดเบื้องหลังของการเป็นเจ้าภาพเอเปคปี 2565 ของไทย (ข้อมูลปี 2560 จากกรมควบคุมมลพิษ)

ขยะอาหาร เป็นวิกฤตที่จัดการได้และเป็นโอกาสให้ SMEs รุ่นใหม่ในธุรกิจอาหารสร้างคุณค่าและไอเดียใหม่ ๆ จากขยะอาหารที่ให้ทั้งกำไรและใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพิ่มความเข้มแข็งของธุรกิจและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ขยะอาหารมาจากไหนกันนะ…1) จากเศษอาหาร หรืออาหารเหลือทิ้งจากการบริโภค และ 2) จากอาหารส่วนเกิน ซึ่งคืออาหารที่สามารถบริโภคได้ แต่มีลักษณะภายนอกไม่สวยงามหรือไม่ได้มาตรฐานของร้าน เช่น ร้านขายผักผลไม้ที่คัดเฉพาะที่สวยเท่านั้น

เราสามารถเปลี่ยนขยะอาหารให้เป็นโอกาสใหม่ ๆ และสร้างรายได้ เช่น

🥙 ปุ๋ยออร์แกนิคจากการหมักขยะเศษอาหาร

🍞 อาหารราคาพิเศษ ในเวลาพิเศษ ด้วยการเป็นตัวกลางรับอาหารคุณภาพดีจากร้านชั้นนำต่าง ๆ มาจำหน่ายในราคาพิเศษ

🌶️ ขายผลิตผลการเกษตร ที่อาจไม่สวยขึ้นห้าง แต่คุณภาพไม่แพ้ใคร ในราคาที่จับต้องได้

📱 การใช้เทคโนโลยีในการลดปริมานขยะอาหาร เช่น ถังขยะอัจฉริยะแยกขยะอาหารกับขยะอื่น ๆ หรือ

แอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนอาหาร

ยังมีอีกหลายไอเดียที่รอให้ธุรกิจ MSMEs มาสร้างสรรค์และผันตัวไปเป็น Green MSMEs สร้างรายได้จากขยะอาหาร ลดต้นทุนการผลิต สร้างโมเดลเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความยั่งยืนไปพร้อมกัน

โมเดลเศรษฐกิจ BCG Model ได้ช่วยวางแนวทางที่เป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมธุรกิจ Green MSMEs อย่างเป็นระบบ โดยมีหัวใจสำคัญคือ (1) เน้นการนำนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ต้นน้ำคือกระบวนการผลิตไปจนถึงปลายน้ำคือการบริโภค และ (2) มุ่งดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ป้องกันก่อนแก้ไข และเชิญชวนให้ทุกส่วนในสังคมตระหนัก และลงมือทำอย่างจริงจัง

จะเห็นได้ว่า BCG Model ไม่ได้มีประโยชน์เพียงเพื่อส่งเสริม Green MSMEs หรือลด FOOD WASTE หรือขยะอาหารเท่านั้น แต่จะเป็นเรื่องอะไรบ้าง ต้องกดติดตามเพจ APEC 2022 Thailand ไว้ เพื่อมองหาโอกาสและแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล เพื่อสังคมที่ดีของเราทุกคน

ที่มา: กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ


image รูปภาพ
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar